วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 9

จากการศึกษาโทรทัศน์ครู  เรื่อง 15ปีไม่มีเบื่อ สำคัญที่เตรียมการสอน จึงสรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้
                จากการที่ได้ศึกษาจาการดูโทรทัศน์เรื่อง 15ปีไม่มีเบื่อ สำคัญที่เตรียมการสอน แล้วทำให้มีความตระหนักถึงการเป็นครูที่กระตือรือร้นมากขึ้นในด้านการเตรียมการสอนที่ดีการค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆตลอดเวลาเพื่อที่ได้นำไปใช้ในการสอนที่ไม่น่าเบื่อ  โดยที่การฝึกฝน  การหาเทคนิคการสอนเช่น การอ่านหนังสือเทคนิคการสอนของต่างประเทศ  การเข้าฝึกอบรมการทำกิจกรรมซึ่งจะสามารถมีได้ตลอดเวลาเพื่อจะได้พัฒนานักเรียนให้ได้รับความรู้อย่างเต็มที่ 
หากต้องไปฝึกสอนที่สถานศึกษาดังกล่าวจะต้องเตรียมตัวในการสอนอย่างมากจัดเรียงลำดับการสอนให้เป็นระบบเพื่อจะได้พัฒนานักเรียนได้อย่างเต็มที่และนักเรียนจะไม่สับสนด้วยซึ่งในการเขียนแผนการสอนก็มีความจำเป็นที่จะต้องสอดคล้องกับมาตราฐานของหลักสูตร
และสอดคล้องกับตัวชี้วัดด้วยซึ่งจะทำให้การสอนเป็นไปอย่างง่ายไม่ตะกุกตะกักและนักเรียนก็สามารถเชื่อมโยงความรู้แล้ววิเคราะห์ความรู้ได้จนสรุปความรู้ได้
                คุณสมบัติของครูจะต้องมีลักษณะของความรับผิดชอบคิดและหาวิธีการสอนใหม่ที่จะมาสอนนักเรียน เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน  ซึ่งครูก็ต้องมีสมบัติในการวิเคราะห์ตัวของนักเรียนที่มีความแตกต่างกันในด้านความสามารถ  และครูจะต้องรู้จักการเตรียมตัวการสอนและจัดเรียงเนื้อหาให้เป็นลำดับและตรงกับมาตรฐานหลักสูตรและตัวชี้วัดซึ่งจะต้องมีการพัฒนาตามคุณลักษณะ และครูจะต้องรู้จักการหาความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ กล้าที่จะทดลองและพัฒนาการสอนอยู่เสมอ

กิจกรรมที่ 8

ความหมายของวัฒนธรรมองค์การ
          ศิริ พงษ์ (2547) ได้กล่าวว่า วัฒนธรรมองค์การ หมายถึง ความเชื่อ ความรู้สึก พฤติกรรมและสัญลักษณ์ที่มีอยู่ในองค์การ หรือถ้าจำเพาะเจาะจง หมายถึง ปรัชญา อุดมการณ์ ความรู้สึก คติฐาน (assumption) ความคาดหวัง เจตคติ บรรทัดฐาน (norms) และค่านิยม (value) วัฒนธรรม องค์การมีความสัมพันธ์กับการบริหารทางการศึกษาในหลาย ๆ ด้าน เป็นต้นว่า โครงสร้างขององค์การ แรงจูงใจ ภาวะผู้นำ และการเปลี่ยนแปลง องค์การได้รับพลังมาจากสิ่งแวดล้อมในรูปแบบของข้อมูลข่าวสาร บุคคล และวัสดุอุปกรณ์ พลังดังกล่าวจะเชื่อมโยงมาเป็นพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบต่อเป้าหมายขององค์การ และทำให้สมาชิกในองค์การประสบผลตามที่ต้องการ ส่วนกระบวนการบริหาร เช่น แรงจูงใจ ภาวะผู้นำ การตัดสินใจ การสื่อสาร การเปลี่ยนแปลง และโครงสร้างขององค์การ ได้แก่ คำอธิบายงาน ระบบคัดเลือก ระบบประเมินผล ระบบควบคุม และระบบการให้รางวัล มีความสำคัญต่อวัฒนธรรมองค์การและอื่น ๆ สิ่งแวดล้อมภายนอกยังมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมองค์การด้วย ระบบสังคมจะให้ผลย้อนกลับเพื่อตรวจสอบวัฒนธรรมปัจจุบันว่าควรอยู่หรือ เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมย่อย (subculture) ในองค์การขนาดใหญ่และซับซ้อนไม่อาจจะมีส่วนต่าง ๆ คล้ายกันได้ เป็นต้น แนวความคิดเกี่ยวกับองค์การ
 
แนวคิดเกี่ยวกับองค์การ
              แนว คิดของวัฒนธรรมองค์กรในลักษณะต่างๆที่สามารถนำมาปฏิบัติได้ในองค์กร คือ วัฒนธรรมลักษณะสร้างสรรค์ วัฒนธรรมองค์กรการเรียนรู้ วัฒนธรรมองค์กรอัจฉริยะ วัฒนธรรมองค์กรการเปลี่ยนแปลง และ วัฒนธรรมองค์กรแห่งการตื่นรู้ ดังนั้นก่อนที่จะกล่าวถึงรายละเอียดของวัฒนธรรมดังกล่าวข้างต้น ยังมีนักวิชาการที่มีการแบ่งรูปแบบวัฒนธรรมองค์กรไว้หลายลักษณะ ซึ่งความสัมพันธ์และส่วนประกอบของวัฒนธรรมองค์กรทำให้เกิดรูปแบบวัฒนธรรมที่ แตกต่างกัน เหมือนกับบุคลิกภาพที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละบุคคล 


  แนวทางพัฒนาองค์การ
              การพัฒนาองค์การทำให้เกิดการผสมผสานระหว่างคน และสังคม (People and Social) โครงสร้าง (Structure)  วิทยาการสมัยใหม่  (Technology)  ระบบงาน  (Work System) ให้สอดคล้องกันวงจรในการพัฒนาองค์การ จะมีลักษณะกระบวนการย้อนกลับ โดยเร่ิมจากวิเคราะห์องค์การการวางแผนปฏิบัติการ การสนับสนุนการปฏิบัติการ และการประเมินผล  



กลยุทธ์การสร้างวัฒนธรรมองค์การ             
          1.การธำรงรักษาหรือพัฒนาวัฒนธรรมองค์การให้เจริญงอกงามยิ่งขึ้นโดยกำหนดแผนงานหรือโครงการต่าง ๆ          2.การกำหนดค่านิยมขององค์การให้ชัดเจน ซึ่งค่านิยมที่กำหนดขึ้นจะต้องมีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ (Vision) และภารกิจหลัก (Mission) ขององค์การ          3.การพัฒนาองค์การโดยรวม เพราะองค์การที่มีสภาพแวดล้อมการทำงานเช่นนี้มีส่วนทำให้คนในองค์การขาดความชัดเจนในทิศทางการบริหารงาน          4.การพัฒนาผู้นำให้มีวิสัยทัศน์ของการเป็นผู้นำ(Visionary Leadership) และตระหนักว่าวัฒนธรรมองค์การเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างการเปลี่ยนแปลงองค์การ

แนวทางการนำวัฒนธรรมองค์การไปใช้
           เนื่อง จากปัญหาส่วนใหญ่ที่พบใน องค์การคือ การนำแผน และกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ เพราะแผนและกลยุทธ์ที่ถูกกำหนดอย่างดีจะไม่มีความหมายเลยถ้านำไปปฏิบัติไม่ ได้ จากเหตุผลดังกล่าวทำให้นักบริหารพยายามค้นหาตัวแปรที่จะทำให้การนำไปสู่การ ปฏิบัติมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยหลายองค์การได้นำเอาวัฒนธรรมองค์การมาประยุกต์ใช้ ซึ่งพบว่าในการดำเนินงานสามารถสร้างให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานได้ใน ลักษณะที่เป็นธรรมชาติมาก   กล่าวคือไม่ต้องมีการ สั่งการ และ การออกกฎระเบียบ เพื่อใช้บังคับพฤติกรรมบุคคลในองค์การ ซึ่งเดิมเคยอาจใช้ได้ผลซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะของการถูกบังคับ ซึ่งเป็นผลทำให้ประสิทธิภาพที่เกิดขึ้นมีผลแค่เพียงในระยะเวลาสั้น เมื่อเทียบกับการควบคุมโดยประยุกต์ใช้วัฒนธรรมองค์การที่เกิดขึ้นในลักษณะ ตามธรรมชาติ


      อ้างอิง  http://www.expert2you.com/view_question2

วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 7

การจัดการชั้นเรียนของครูมืออาชีพ       การเป็นครูมืออาชีพนั่นจะต้อง  เป็นครูที่มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอนมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ  รวมถึงต้องพัฒนาทักษะวิชาชีพอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง  เพื่อมุ่งพัฒนาทักษะวิชาชีพของตนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
       การจัดการชั้นเรียน  คือ  การจัดสภาพของห้องเรียน  รวมไปถึงการจัดตกแต่งห้องเรียนให้บรรยากาศน่าเรียน  เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน
       ความสำคัญของการจัดการชั้นเรียน
1.  การเรียนรู้จะเกิดขึ้นไม่ได้หรือเกิดได้น้อยถ้ามีสิ่งรบกวนในชั้นเรียนอยู่ตลอดเวลาด้วยปัญหาทางด้านพฤติกรรมของนักเรียน
2.  การกำหนดคุณลักษณะพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียนไว้ล่วงหน้าจะมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการจัดการชั้นเรียน  เพราะจะทำให้นักเรียนมีแนวทางในการควบคุมพฤติกรรมของตนเองโดยไม่แสดงอาการหรือพฤติกรรมที่จะเป็นการรบกวนการเรียนของผู้อื่น
3.  ชั้นเรียนที่มีการจัดการกับพฤติกรรมนักเรียนได้อย่างเหมาะสม 
4.  การจัดการในชั้นเรียนให้นักเรียนมีวินัยในการเรียนรู้และการอยู่ร่วมกันด้วยความเอื้ออาทร
       ดังนั้นความสำคัญของการจัดการในชั้นเรียน  เป็นการดำเนินการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียน  เพื่อกระตุ้นส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้  รวมถึงการแก้ไขพฤติกรรมของนักเรียนโดยมีเป้าหมายเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ของการเรียนการสอนตลอดจนบรรลุเป้าหมายของการศึกษา
   บทบาทของการเป็นผู้นำของครูออกเป็น  3  ประเภท
1.  ครูที่มีเผด็จการ  ลักษณะของครูเช่นนี้  จะต้องมีความเชื่อว่าตนเองมีความรู้ความสามารถในเนื้อหาวิชาการสอนจึงเน้นการถ่ายทอดความรู้โดยการจัดการเรียนการสอนที่เน้นครูเป็นสำคัญ
2.  ครูที่มีความปล่อยปะละเลย  ครูประเภทนี้มีลักษณะอ่อนโยน
3.  ครูที่มีลักษณะเป็นประชาธิปไตย  ครูประเภทนี้พร้อมที่จะตัดสินใจในปัญหาต่างๆ แต่ก็ยอมรับฟังความคิดเห็น  และความต้องการของนักเรียน

กิจกรรมที่ 6

ให้นักศึกษาอ่านบทความนี้ สรุปและแสดงความคิดเห็น มาตรฐานวิชาชีพ และนำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพครูได้อย่างไร 

สรุปมาตรฐานวิชาชีพ  และไปใช้ในการประกอบวิชาชีพครู
                ทุกวิชาชีพย่อมต้องมีมาตรฐานของวิชาชีพนั้น เพื่อวัด หรือประมาณค่าผู้ปฏิบัติการวิชาชีพ ตามมาตรฐานด้านความรู้ ทักษะ และประสบการณ์วิชาชีพ  การที่องค์กรด้านวิชาชีพต่างๆ ได้กำหนดให้มีมาตรฐานวิชาชีพของตน ถือเป็นภาระหน้าที่เพื่อความมุ่งประสงค์ในการรักษา ส่งเสริม และพัฒนาอาชีพของตนให้มีมาตรฐานสูงที่สุด โดยให้ผู้ปฏิบัติการ ผู้รับบริการ ผู้เกี่ยวข้องและสาธารณชนได้เห็นความสำคัญของการอาชีพนั้นๆ และเพื่อให้การอาชีพนั้นๆ สามารถคงอยู่ได้ด้วยความมีคุณค่า เป็นที่ยอมรับนับถือและได้รับการยกย่อง
         สำหรับวิชาชีพทางการศึกษานั้น คำว่า มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการศึกษาเป็นทั้งการสร้าง การพัฒนา รวมทั้งการเสริมให้บุคคลมีคุณภาพ มีศักยภาพ ที่จะเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของชุมชน สังคม และประเทศ

มาตรฐานวิชาชีพ หมายถึง จุดมุ่งหมายหลักทีจะสร้างแนวทางปฏิบัติ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ เพื่อให้เกิดความมั่นใจมนวิชาชีพของผู้ปฏิบัติ เพื่อให้การปฏิบัติงานอาชีพมีคุณภาพสูงสุด วิชาชีพใดๆ ย่อมให้บริการแก่สาธารณชน หรือองค์กรต่างๆ โดยต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญเฉพาะ โดยมีมาตรฐานในการประกอบอาชีพที่ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องได้รับการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างเพียงพอก่อนที่จะประกอบอาชีพ
วิชาชีพที่มีมาตรฐาน จึงได้รับการยกย่องให้เป็นวิชาชีพชั้นสูงเพราะผู้ประกอบวิชาชีพ นอกจากต้องมีความรู้และทักษะในวิชาชีพแล้วยังต้องมีความรับผิดชอบสูง เพราะเกี่ยวข้องกับผู้รับบริการและสาธารณชน จึงต้องมีการควบคุมการประกอบวิชาชีพเป็นพิเศษ เพื่อให้เกิดความมั่งใจต่อผู้รับบริการและสาธารณชน โดยผู้ประกอบวิชาชีพต้องประกอบวิชาชีพด้วยวิธีการแห่งปัญญา ได้รับการศึกษาอบรมมายาวนานเพียงพอ มีอิสระในการใช้ชีวิตตามมาตรฐานวิชาชีพ และมีจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งต้องมีสถาบันวิชาชีพหรือองค์กรวิชาชีพที่เป็นแหล่งกลางในการสร้างสรรค์และจรรโลงวิชาชีพด้วย
มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ ที่ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดคุณภาพในการประกอบวิชาชีพ สามารถสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาให้แก่ผู้รับบริการจากวิชาชีพได้ว่า เป็นบริการที่มีคุณภาพ และตอบสังคมได้ด้วยว่า การที่กฎหมายให้ความสำคัญกับวิชาชีพทางการศึกษา และกำหนดให้เป็นวิชาชีพควบคุมโดยต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพนั้น เนื่องจากเป็นวิชาชีพที่มีลักษณะเฉพาะ ต้องใช้ความรู้ ทักษะ และความเชี่ยวชาญในการประกอบวิชาชีพตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๔๙ ได้กำหนดมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาไว้ ๓ ด้าน เช่น

                ๑.มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู มาตรฐานข้อนี้ ประกอบด้วย มาตรฐาน ๒ ส่วน ได้แก่
                มาตรฐานความรู้ หมายถึง ข้อกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพครู มีคุณวุฒิทางการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง
                มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพครูจะต้องผ่านการฝึกทักษะและสมรรถนะของวิชาชีพครูในด้านการปฏิบัติการสอน รวมทั้งทักษะและสมรรถนะด้านการสอนสาขาวิชาเฉพาะในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
๒. มาตรฐานการปฏิบัติงาน มีความหมายครอบคลุมมาตรฐานย่อยๆ ของการปฏิบัติงาน ๑๒ ประการด้วยกัน คือ
                - ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
                - ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียน
                - มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
                - พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
                - พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
                - จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
                - รายงานผลกรพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
                - ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีกับผู้เรียน
                - ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
                - ร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์
                - แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
                - สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์ 
   ๓. มาตรฐานการปฏิบัติตน  หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับความประพฤติของผู้ปฏิบัติวิชาชีพ จะต้อง  ประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณของมาตรฐานวิชาชีพครู ๕ ประการดังต่อไปนี้
                - จรรยาบรรณต่อตนเอง
                - จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
                - จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
                - จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
                - จรรยาบรรณต่อสังคม 
   
พื้นฐานและแนวคิด
          โดยพื้นฐานและแนวความคิดความเชื่อของการมีมาตรฐานวิชาชีพ คือ
                - เป็นมาตรการของการให้ความสนับสนุนและช่วยเหลือผู้ประกอบวิชาชีพเพื่อสามารถพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพเป็นทั้งรายบุคคลและเป็นกลุ่มบุคคล
                - เป็นมาตรฐานที่ทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพสามารถเลื่อนตำแหน่งวิชาชีพ เพิ่มคุณวุฒิ คุณภาพ คุณสมบัติ รวมทั้งทักษะและเจตคติในการประกอบวิชาชีพ
                - เป็นมาตรการที่จะเพิ่มมาตรฐานในระดับวิชาชีพที่ทำอยู่ในด้านความรู้ความเข้าใจ และสมรรถนะของบุคคลให้มีความเป็นมืออาชีพในวิชาชีพยิ่งขึ้น เป็นต้น
          มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษานั้น นอกจากเป็นมาตรฐานวิชาชีพที่ต้องประกอบวิชาชีพเพื่อบริการต่อสาธารณชนตามบริบทของวิชาชีพชั้นสูงทั่วไปแล้ว ยังต้องมีการปฏิบัติการวิชาชีพที่เกี่ยวกับบทบาทสำคัญต่อสังคมและความเจริญของประเทศที่สำคัญด้วยคือ (มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา : สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ๒๕๔๘: ๑)
                - สร้างพลเมืองดีของประเทศ โยให้การศึกษาขึ้นพื้นฐานที่ประเทศต้องการ
                - พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อสนองต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
                - สืบทอดวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามขงอชาติ จากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่ง เพื่อรักษาความเป็นชาติไว้ให้มั่นคงและยาวนาน

การนำไปประยุกต์ใช้

                การใช้และปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพในรูปแบบและวิธีการที่ต่างๆ กัน ขึ้นกับแต่ละสถาบัน องค์กร สมาคม หรือสภาวิชาชีพต่างๆ การประยุกต์ใช้มาตรฐานวิชาชีพ ย่อมขึ้นกับความต่างของวิชาชีพความต่างของขอบเขตการใช้มาตรฐานด้วย เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับ คุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในการประกอบวิชาชีพครู โดยผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องนำมาตรฐานวิชาชีพเป็นหลักเกณฑ์ในประกอบวิชาชีพคุรุสภา
             มาตรฐานวิชาชีพครู 
จะเป็นหลักเกณฑ์สำคัญในการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะมีสิทธิ  ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู หรือการต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ โดยผู้ที่จะได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ จะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามมาตรฐานวิชาชีพครู
                เป็นตัวชี้วัดหรือประมาณค่าผู้ปฏิบัติการวิชาชีพ ตามมาตรฐานด้านความรู้ ทักษะ และประสบการณ์วิชาชีพและส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ เพื่อให้เกิดความมั่นใจมนวิชาชีพของผู้ปฏิบัติ เพื่อให้การปฏิบัติงานอาชีพมีคุณภาพสูงสุด วิชาชีพใดๆ ย่อมให้บริการแก่สาธารณชน หรือองค์กรต่างๆ โดยต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญเฉพาะ โดยมีมาตรฐานในการประกอบอาชีพที่ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องได้รับการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างเพียงพอก่อนที่จะประกอบอาชีพ

วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 5

สิ่งที่ได้จากการอ่านบทความ
       สิ่งที่ได้รับ  คือ  แนวคิดของการเป็นครูที่ดีที่จะสามารถนำไปพัฒนานักเรียน  สังคมและประเทศชาติได้ต่อไป  ในบทความนี้จะสามารถทำให้ทราบถึงต้นแบบที่ดีที่จะอยุ่ในฐานะเป็นแม่แบบและในฐานะเป็นแรงบันดาลใจ  ซึ่งคนที่ได้พบได้เห็นและได้ฟังจะสามารถรับรู้ได้ว่านี้คือแม่แบบที่ดีของตนเอง   
       จากบทความเราสามารถทราบได้ถึงปัญหาสังคมได้ว่าเยาวชนในปัจจุบันที่พฟติกรรมเบี่ยงเบนไปในทางที่ไม่ดี จะมีผลมาจากต้นแบบที่อยู่ใกล้ต้วเองมาที่สุดซึ่งมาจาก  พ่อแม่ ครูหรือผู้ที่มีอิทธิพลกับเด็กซึ่งทำให้เด็กอาจจะเกิดความสับสนว่าสิ่งใดดี  สิ่งใดไม่ดี จนเกิดเป็นปัญหาสังคมขึ้นมาได้  จนทำให้บทความนี้มีนัยบอกว่า  คนที่จะสามารถเป้นต้นแบบที่ดีและมีวิญญานที่จะเป็นต้นแบบได้ดีที่สุด คือ  ครู ที่จะอดทนต่อความเหน็ดเหนื่อย และปราถนาดีต่อลูกศิษย์ทุกคน  และเป็นต้นแบบที่ดีของนักเรียนเสมอมา

ประโยชน์ที่จะนำไปพัฒนาตนเองจากบทความ
       1.  ทำให้ทราบถึงว่าความเป็นครูจะต้องมีความอดทนต่อความเหน็ดเหนื่อย  และปราถนาดีต่อลูกศิาย์เสมอ  ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ในอนาคตของความเป้นครูต่อไปได้
       2.  ทำให้ตัวเองมีแนวคิดในการที่จะปฏิบัติตนให้เป็นต้นแบบที่ดีในหน้าที่ของครู
       3.  ทำให้ตัวเองมีแนวคิดในการที่จะปฏิบัติตนให้เป็นต้นแบบที่ดีในหน้าที่ของแม่
      
 
      

กิจกรรมที่ 4

สิ่งที่รับจากการที่ได้เรียนรู้จากการอ่านบทความ
       จากการอ่านบทความสิ่งที่ได้  คือ  การเป็นภาวะผู้นำในอดีตกับปัจจุบันยังคงมีความสำคัญมาตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงโดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคน ซึ่งการจัดการของคนนั้นหากให้ได้ผลแล้วจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้การสิ่งที่เรียกว่า ภาวะผู้นำ มากกว่าที่ใช้การจัดการ ภาวะผู้นำถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในการเปลี่ยนแปลงและจะให้สำเร็จนั้นจะต้องมีความศรัทธา ในส่วนของวิสัยทัศน์บางครั้งอาจมีน้ำหนักไม่เพียง การสร้างศรัทธาในที่นี้เป็นการสร้าง ความชอบ ความเชื่อ และเรื่องของการยอมรับ ซึ่งมันไม่ต้องมีเหตุผล ในการสร้างศรัทธาในตัวของผู้นำคือ ผู้ให้ ซึ่งผู้ให้คือผู้ที่ให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน จะเห็นได้ว่าธุรกิจใในปัจจุบันนั้นจะเป็นการแข่งขัน เป้าหมายของการแข็งขันคือชัยชนะ แต่การชัยชนะของผู้นำที่แท้จริงจะมองรางวัลที่ได้เป็นรางวัลของสำหรับทุกคน ซึ่งในปัจจุบันก็ยังคงมีคนที่เป็นผู้นำที่แท้จริงอยู่ ผู้นำในส่วนใหญ่เป็นผู้นำที่มาโดยต่ำแหน่งกันมากกว่า ดั้งนั้นการเป็นผู้นำที่แท้จริงจะต้องเป็นผู้ที่เสียสละ ซึ่งภาวะผู้นำกับเรื่องการเสียสละเป็นเรื่องที่คู่กัน  และผู้นำจะต้องสามารถทำงานเป็นทีมได้ให้ทุกคนร่วมกันสร้างสรรค์งานกันอย่างมีประสิทธิภาพ

วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 3




ประวัติ  ร.ศ. สุนีย์ สินธุเดชะ
การศึกษา ได้รับปริญญาอักษรศาสตร์บัณฑิต และครุศาสตร์บัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โดยเป็นนักเรียนทุนกระทรวงศึกษาธิการ
ได้รับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตสาขานิเทศศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ได้รับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตปรัชญา สาขาพัฒนศึกษา จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น
การงาน ปีการศึกษา 2503-2540 ได้รับการคัดเลือกเข้ารับราชการในคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
-  ประสบการณ์ บรรยายอบรมในสถานศึกษาเกี่ยวกับเอกลักษณ์ วัฒนธรรมของชาติแก่สถาบันการศึกษา ตั้งแต่ระดับมัธยมถึงอุดมศึกษา
-  บรรยายวิชาภาษาไทยแก่นักศึกษาชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย วิทยาลัยพยาบาลพระมงกุฎเกล้า วิทยาลัยพยาบาลราชวิถี วิทยาลัยพยาบาลโรงพยาบาลภูมิพล วิทยาลัยพยาบาลพระปิ่นเกล้า วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์
-  บรรยายและอภิปรายเป็นครั้งคราว แก่วิทยาลัยพยาบาลเชียงใหม่ วิทยาลัยพยาบาลสงขลานครินทร์ และอีกหลายมหาวิทยาลัยที่ต้องการให้นักศึกษาได้เรียนรู้ด้านภาษากับการสื่อสาร
-  บรรยายและอบรมในเวลาที่ข้าราชการครูจัดทำปฏิบัติการด้านการเรียนการสอน โดยบรรยายด้านการสอนโดยทั่วไป และเฉพาะวิชาวิธีสอนวิชาภาษาไทย
-  บรรยายแก่ข้าราชการ และองค์กรทางธุรกิจ เรื่องวัฒนธรรมองค์กรและการทำงานอย่างเป็นสุข และหัวข้ออื่นๆตามผู้เชิญต้องการแต่อยู่ในเกณฑ์ที่ได้ศึกษามา
-  ศึกษาดูงานที่มหาวิทยาลัยการโรงแรมที่ประเทศสิงคโปร์ (Shatee University)
ศึกษาดูงานการเรียนการสอนวิชาการโรงแรม ณ มหาวิทยาลัยHawaii
-  ศึกษาดูงานการศึกษาภาษาต่างประเทศและกิจกรรมด้านการเรียนวิชาการโรงแรม ณ มหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

ผลงานปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต และ ผู้อำนวยการด้านการศึกษาและประชาสัมพันธ์ โครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและภาษา IES 
ตำแหน่งทางวิชาการ รองศาสตราจารย์ ระดับ  9
งานเขียนพิเศษ ตอบปัญหาด้านการศึกษาแก่นักเรียนและผู้ปกครอง ทางหนังสือพิมพ์ไทยรัฐฉบับวันอาทิตย์ (หน้า 12)
  ตอบปัญหาชีวิตในนิตยสารดาราภาพยนตร์
เขียนตำราวิชา ภาษาไทยกับการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-5-6
เขียนตำราวิชา ภาษาไทยธุรกิจ สำหรับนักศึกษาปวช. 3
เขียนตำรา มารยาทและวัฒนธรรมไทย สำหรับนักศึกษาปวช. 3

สิ่งที่ประทับใจ  ประทับใจในสิ่งที่ อ.แม่เป็นตัวของตัวเอง  สามารถเข้ากับคนได้ทุกวัย  เป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์  จนมีผลงานที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย รวมถึงเป็นคนที่มีความเป็นกันเองไม่ถือตัวและจะคอยเตือนเมื่อเห็นว่าการกระทำที่เห็นไม่ถูกต้อง  ส่วนลักษณะส่วนตัวก็มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง  ขยันทำงานจนประสบความสำเร็จ 


กิจกรรมที่ 2

1.ศึกษาทฤษฎีและหลักการ(เจ้าของทฤษฎี)

ทฤษฎีทางการบริหารและวิวัฒนาการการบริหารการศึกษา     ระยะที่ 1 ระหว่าง ค.ศ. 1887 – 1945 (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 10) ยุคนักทฤษฎี

การบริหารสมัยดั้งเดิม (The Classical organization theory) แบ่งย่อยเป็น 3 กลุ่มดังนี้
          1.กลุ่มการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ของเทย์เลอร์(Scientific Management)ของ

เฟรดเดอริก เทย์เลอร์ (Frederick Taylor) ความมุ่งหมายสูงสุดของแนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์คือ จัดการบริหารธุรกิจหรือโรงงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด Taylor มองคนงานแต่ละคนเปรียบเสมือนเครื่องจักรที่สามารถปรับปรุงเพื่อเพิ่มผลผลิตขององค์การได้ เจ้าของตำรับ “The one best way” คือประสิทธิภาพของการทำงานสูงสุดจะเกิดขึ้นได้ต้องขึ้นอยู่กับสิ่งสำคัญ 3 อย่างคือ
                    1.1 เลือกคนที่มีความสามารถสูงสุด (Selection)
                    1.2 ฝึกอบบรมคนงานให้ถูกวิธี (Training)
                    1.3 หาสิ่งจูงใจให้เกิดกำลังใจในการทำงาน (Motivation)
        เทย์เลอร์ ก็คือผลผลิตของยุคอุตสาหกรรมในงานวิจัยเรื่อง “Time and Motion Studies” เวลาและการเคลื่อนไหว เชื่อว่ามีวิธีการการทางวิทยาศาสตร์ที่จะบรรลุวัตถุประสงค์เพียงวิธีเดียวที่ดีที่สุด เขาเชื่อในวิธีแบ่งงานกันทำ ผู้ปฏิบัติระดับล่างต้องรับผิดชอบต่อระดับบน เทย์เลอร์ เสนอ ระบบการจ้างงาน(จ่ายเงิน)บนพื้นฐานการสร้างแรงจูงใจ สรุปหลักวิทยาศาสตร์ของเทยเลอร์สรุปง่ายๆประกอบด้วย 3 หลักการดังนี้
                      1. การแบ่งงาน (Division of Labors)
                      2. การควบคุมดูแลบังคับบัญชาตามสายงาน (Hierarchy)
                      3. การจ่ายค่าจ้างเพื่อสร้างแรงจูงใจ (Incentive payment)
          2. กลุ่มการบริหารจัดการ(Administration Management) หรือ ทฤษฎีบริหารองค์การอย่างเป็นทางการ(Formal Organization Theory ) ของ อังรี ฟาโยล (Henri Fayol) บิดาของทฤษฎีการปฏิบัติการและการจัดการตามหลักบริหาร ทั้ง Fayol และ Taylor จะเน้นตัวบุคลปฏิบัติงาน + วิธีการทำงาน ได้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลแต่ก็ไม่มองด้าน จิตวิทยา” (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 17)Fayol ได้เสนอแนวคิดในเรื่องหลักเกี่ยวกับการบริหารทั่วไป 14 ประการ แต่ลักษณะที่สำคัญ มีดังนี้
                    2.1 หลักการทำงานเฉพาะทาง (Specialization) คือการแบ่งงานให้เกิดความชำนาญเฉพาะทาง
                    2.2 หลักสายบังคับบัญชา เริ่มจากบังคับบัญชาสูงสุดสู่ระดับต่ำสุด
                    2.3 หลักเอกภาพของบังคับบัญชา (Unity of Command)
                    2.4 หลักขอบข่ายของการควบคุมดูแล (Span of control) ผู้ดูแลหนึ่งคนต่อ 6 คนที่จะอยู่ใต้การดูแลจึงจะเหมาะสมและมีประสิทธิภาพที่สุด

                    2.5 การสื่อสารแนวดิ่ง (Vertical Communication) การสื่อสารโดยตรงจากเบื้องบนสู่เบื้องล่าง
                    2.6 หลักการแบ่งระดับการบังคับบัญชาให้น้อยที่สุด คือ ไม่ควรมีสายบังคับบัญชายืดยาว หลายระดับมากเกินไป
                    2.7 หลักการแบ่งความรับผิดชอบระหว่างสายบังคับบัญชาและสายเสนาธิการ (Line and Staff Division)
          3. ทฤษฎีบริหารองค์การในระบบราชการ(Bureaucracy) มาจากแนวคิดของ แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) ที่กล่าวถึงหลักการบริหารราชการประกอบด้วย
                    3.1 หลักของฐานอำนาจจากกฎหมาย
                    3.2 การแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบ ที่ต้องยึดระเบียบกฎเกณฑ์
                    3.3 การแบ่งงานตามความชำนาญการเฉพาะทาง
                    3.4 การแบ่งงานไม่เกี่ยวกับผลประโยชน์ส่วนตัว
                    3.5 มีระบบความมั่นคงในอาชีพ
              จะอย่างไรก็ตามระบบราชการก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งในด้าน ข้อเสีย คือ สายบังคับบัญชายืดยาวการทำงานต้องอ้างอิงกฎระเบียบ จึงชักช้าไม่ทันการแก้ไขปัญหาในปัจจุบัน เรียกว่า ระบบ “Red tape” ในด้านข้อดี คือ ยึดประโยชน์สาธารณะเป็นหลัก การบังคับบัญชา การเลื่อนขั้นตำแหน่งที่มีระบบระเบียบ แต่ในปัจจุบันระบบราชการกำลังถูกแทรกแซงทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ ทำให้เริ่มมีปัญหา
    ระยะที่ 2  ระหว่าง ค.ศ. 1945 – 1958 (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 10) ยุคทฤษฎี

มนุษยสัมพันธ์ (Human Relation ) Follette ได้นำเอาจิตวิทยามาใช้และได้เสนอ
การแก้ปัญหาความขัดแย้ง(Conflict) ไว้ 3 แนวทางดังนี้
              1. Domination คือ ใช้อำนาจอีกฝ่ายสยบลง คือให้อีกฝ่ายแพ้ให้ได้ ไม่ดีนัก
              2. Compromise คือ คนละครึ่งทาง เพื่อให้เหตุการณ์สงบโดยประนีประนอม
              3. Integration คือ การหาแนวทางที่ไม่มีใครเสียหน้า ได้ประโยชน์ทั้ง 2 ทาง

ระยะที่ 3 ตั้งแต่ ค.ศ. 1958 – ปัจจุบัน (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 11) ยุคการใช้ทฤษฎีการบริหาร(Administrative Theory)หรือการศึกษาเชิงพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science Approach) ยึดหลักระบบงาน + ความสัมพันธ์ของคน + พฤติกรรมขององค์การ ซึ่งมีแนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่หลายๆคนได้แสดงไว้ดังต่อไปนี้
        1.เชสเตอร์ ไอ บาร์นาร์ด (Chester I Barnard ) เขียนหนังสือชื่อ The Function of The Executive ที่กล่าวถึงงานในหน้าที่ของผู้บริหารโดยให้ความสำคัญต่อบุคคลระบบของความร่วมมือองค์การ และเป้าหมายขององค์การ กับความต้องการของบุคคลในองค์การต้องสมดุลกัน
        2.ทฤษฎีของมาสโลว์ ว่าด้วยการจัดอันดับขั้นของความต้องการของมนุษย์ (Maslow – Hierarchy of needs) เป็นเรื่องแรงจูงใจแบ่งความต้องการของมนุษย์ตั้งแต่ความต้องการด้านกายภาพ ความต้องการด้านความปลอดภัยความต้องการด้านสังคม ความต้องการด้านการเคารพ นับถือ และประการสุดท้าย คือ การบรรลุศักยภาพของตนเอง (Self actualization) คือมีโอกาสได้พัฒนาตนเองถึงขั้นสูงสุดจากการทำงาน แต่ความต้องการเหล่านั้นต้องได้รับการสนองตอบตามลำดับขั้น

        3.ทฤษฎี X ทฤษฎี Y ของแมคกรีกอร์(Douglas MC Gregor Theory X,
Theory Y ) เขาได้เสนอแนวคิดการบริหารอยู่บนพื้นฐานของข้อสมมติฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ต่างกัน ทฤษฎี X(The Traditional View of Direction and Control) ทฤษฎีนี้เกิดข้อสมติฐานดังนี้
                    1. คนไม่อยากทำงาน และหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ
                    2. คนไม่ทะเยอทะยาน และไม่คิดริเริ่ม ชอบให้การสั่ง
                    3. คนเห็นแก่ตนเองมากกว่าองค์การ
                    4. คนมักต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
                    5. คนมักโง่ และหลอกง่าย
ผลการมองธรรมชาติของมนุษย์เช่นนี้ การบริหารจัดการจึงเน้นการใช้เงิน วัตถุ เป็นเครื่องล่อใจ เน้นการควบคุม การสั่งการ เป็นต้น
              ทฤษฎี Y(The integration of Individual and Organization Goal) ทฤษฎีข้อนี้เกิดจากข้อสมติฐานดังนี้
                    1. คนจะให้ความร่วมมือ สนับสนุน รับผิดชอบ ขยัน
                    2. คนไม่เกียจคร้านและไว้วางใจได้
                    3. คนมีความคิดริเริ่มทำงานถ้าได้รับการจูงใจอย่างถูกต้อง
                    4. คนมักจะพัฒนาวิธีการทำงาน และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
              ผู้บังคับบัญชาจะไม่ควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเข้มงวด แต่จะส่งเสริมให้รู้จักควบคุมตนเองหรือของกลุ่มมากขึ้น ต้องให้เกียรติซึ่งกันและกันจากความเชื่อที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดระบบการบริหารที่แตกต่างกันระหว่างระบบที่เน้นการควบคุมกับระบบที่ค่อนข้างให้อิสระภาพ

        4.อูชิ (Ouchi ) ชาวญี่ปุ่นได้เสนอ ทฤษฎี Z (Z Theory) (William G. Ouchi) ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัย UXLA (I of California Los Angeles) ทฤษฎีนี้รวมเอาหลักการของทฤษฎี X , Y เข้าด้วยกัน แนวความคิดก็คือ องค์การต้องมีหลักเกณฑ์ที่ควบคุมมนุษย์ แต่มนุษย์ก็รักความเป็นอิสระ และมีความต้องการหน้าที่ของผู้บริหารจึงต้องปรับเป้าหมายขององค์การให้สอดคล้องกับเป้าหมายของบุคคลในองค์การ
2.  นำหลักการดังกล่าวไปใช้อย่างไร
     สามารถนำไปใช้ในด้านการเข้าใจคน  เข้าใจการพัฒนาของมนุษย์  ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งในด้านการเรียน การเข้าสังคม  การมีมนุษยสัมพันธ์กับคนอื่นๆ  การพัฒนาการคิดให้มีระบบโดยที่สามารถใช้ได้ในการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน
 ที่มา  http://www.kru-itth.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=420816&Ntype=6

วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่1

การจัดการชั้นเรียน  คือ  การจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพในห้องเรียน  การจัดการกับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของนักเรียน  การสร้างวินัยในชั้นเรียน  ตลอดจนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู  และการพัฒนาทักษะการสอนของครูให้สามารถกระตุ้นพร้อมทั้งสร้างแรงจูงใจในการเรียน  เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
การบริหารการศึกษา   หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมในทุกๆ ด้าน นับแต่ บุคลิกภาพ ความรู้ ความสามารถ เจตคติ พฤติกรรม คุณธรรม เพื่อให้มีค่านิยมตรงกันกับความต้องการของสังคม โดยกระบวนการต่างๆ ที่อาศัยควบคุมสิ่งแวดล้อมให้มีผลต่อบุคคล และอาศัยทรัพยากร ตลอดจนเทคนิคต่างๆ อย่างเหมาะสม เพื่อให้บุคคลพัฒนาไปตรงตามเป้าหมายของสังคมที่ตนดำเนินชีวิตอยู่

วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แนะนำตนเอง





ชื่อ                   นางสาวเสาวลักษณ์  จงจิตต์
ชื่อเล่น              ปิ๊ก
วันเกิด               29  พ.ย 2532

การศึกษา          จบมัธยมศึกษาปีที่ 3   จากโรงเรียนฉวางรัชดาภิเษก
                       จบมัธยมศึกษาปีที่ 6   จากโรงเรียนฉวางรัชดาภิเษก

กำลังศึกษา       มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
                      คณะครุศาสตร์   หลักสูตร  สังคมศึกษา
                    

คติประจำใจ      จงเป็นน้ำใสที่ไหลริน  อย่าเป็นน้ำเน่าที่อยู่นิ่ง