วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 11

การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ


การจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมี ความรู้คู่คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์  สังเคราะห์  และมีวิสัยทัศน์ ที่ดีกว้างไกล   ดังนั้นการจัดการศึกษา จึงมีความจำเป็นและเป็นหน้าที่ที่สำคัญของโรงเรียนที่ต้องจัดการศึกษามีการส่งเสริม และสนับสนุนให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  และมาตรฐานด้านปัจจัยกำหนดให้ครูมีความสามารถในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด มีหลักการที่สำคัญในการจัดการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  มีดังนี้
1.เป็นกระบวนการที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองและมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน  และรู้จักรับผิดชอบด้วยตนเอง
2.มีการเรียนรู้  หรือศึกษาการเรียนรู้ได้จากแหล่งต่าง ๆ  มากมายไม่ใช่ศึกษาหาความรู้จากแหล่งเดียว  หรือเพียงในห้องเรียนเท่านั้น
3.เป็นการจัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ค้นพบด้วยตนเอง
4.เป็นกระบวนการที่มีส่วนช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี
5.เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญต่อการเรียนของผู้เรียน
6.ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับชีวิตจริงของแต่ละบุคคลจากหลักการดังกล่าวจะนำไปสู่การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมและเป็นผู้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองอย่างมีความสุข

แผนการจัดการเรียนรู้ที่  1
กลุ่มสาระการเรียนรู้  สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม                                 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1 
หน่วยการเรียนรู้ที่  1  การนับศักราชและการแบ่งช่วงเวลาของประวัติสาสตร์ไทย    เวลา  1 ชั่วโมง
สาระที่  4  ประวัติศาสตร์
มาตรฐานที่  ส4.1.1  เข้าใจความหมายความสำคัญของการนับเวลา   การแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์  และเทียบศักราชในระบบต่าง ๆ  เพื่อให้เข้าใจเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง


1.  สาระสำคัญ
                ประวัติศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวของสังคมมนุษย์ที่เปลี่ยนแปลงไปในมิติของเวลา   เพราะกาลเวลาจะบอกเรื่องราวของมนุษย์ในอดีตผ่านไปนานมากน้อยแค่ไหน  ถ้าไม่นานก็บอกเป็นเดือน  เป็นปี  หรือศักราช  แต่ถ้านานมากก็บอกเป็นช่วงเวลาหรือสมัย  ถ้านาน ๆ  ก็บอกเป็นยุค   ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันและสามารถเปรียบเทียบได้

2.  ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
                2.1  รู้และเข้าใจในการเทียบศักราชแบบต่าง ๆ 
                2.2 วิเคราะห์ความสำคัญของการแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ไทยได้
                2.3  สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
3.  จุดประสงค์การเรียนรู้
                หลังจากครูสอนเรื่องการนับศักราชและการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทยแล้ว  นักเรียนมีความรู้ความสามารถดังต่อไปนี้
                3.1  ระบุความสัมพันธ์  เทียบศักราชแบบต่าง ๆ  และแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทยได้
                3.2  ให้ความร่วมมือกับคนในกลุ่ม  ด้วยความเต็มใจ  ไม่เกี่ยงงาน  ไม่ละทิ้งหน้าที่
 ตั้งใจทำงาน
                3.3  รู้จักรักษามรดกที่บรรพบุรุษได้สร้างและสะสมไว้ด้วยความยากลำบาก  ให้คงทนถาวรตลอดไป 

4.  สาระการเรียนรู้
ด้านความรู้  ความเข้าใจ (K)
                1.  การนับศักราช การเทียบศักราช  และการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทย
ด้านทักษะกระบวนการ (P)
2.  การทำงานร่วมกับผู้อื่น  ทักษะในทางสังคมย่อย  การปรับตัวให้อยู่ร่วมกันในสังคม 
โดยมีกิจกรรมต่าง ๆ  ร่วมกัน  เช่น  การทำงาน  การเล่น การเรียน  และการพยายามแก้ปัญหาร่วมกันอย่ามีเหตูผลและถูกวิธี
                ด้านเจตคติ  ค่านิยม  คุณธรรม  (A)
                3.  ความภาคภูมิใจในบรรพบุรุษ  สำนึกในคุณต่อผู้ทำประโยชน์และเสียสละชีพเพื่อชาติ  พึงระลึกไว้เสมอว่าทุกคนมีส่วนเป็นเจ้าของประเทศ  ไม่ควรเพิกเฉยนิ่งดูดาย  ต่อการทำประโยชน์ให้กับประเทศ  บ้านเกิดเมืองนอนของตน  แม้เพียงเล็กน้อยก็ตาม

5.  กระบวนการจัดการเรียนรู้
                ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
                5.1  ครูพูดคุยทักทายกับนักเรียน  เช็คชื่อว่าใครมาเรียน  ลาเรียน  และขาดเรียนบ้าง
                5.2  ครูนำเข้าสู่บทเรียนโดยการถามว่า
นักเรียนคะ  ปีนี้  พ.ศ. 2550  ตรงกับคริสต์ศักราชที่เท่าไรคะ  เมื่อนักเรียนตอบได้ก็บอกว่าถูกต้องค่ะ  ที่ครูให้นักเรียนเทียบศักราช  เพราะว่าวันนี้เราจะเรียนเรื่องการนับศักราชและการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทยนะคะ
                5.3  ถ้านักเรียนตอบไม่ได้ให้ครูพูดว่า
อ้าว !  ไม่เป็นไรค่ะนักเรียน   ตอนนี้นักเรียนยังตอบครูไม่ได้  แต่ว่าครูเชื่อว่าเมื่อพวกเราเรียนเรื่องการนับศักราชและการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทยจบแล้วนักเรียนจะตอบคำถามครูได้   อ้าว !   งั้นเรามาเริ่มเรียนกันเลยนะคะ
                ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้
                5.4  ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มศึกษางาน  แบ่งเป็น  5  กลุ่ม   กลุ่มละ  7 - 8   คน แล้วจับฉลากเพื่อแบ่งหัวข้อที่แต่ละกลุ่มจะได้ศึกษา  ซึ่งมี  5  หัวข้อ ดังนี้
                                1. การนับศักราช
                                2.  การเทียบศักราช
                                3.  การแบ่งช่วงเวลาแบบสากล
                                4.  การแบ่งช่วงเวลาแบบไทย
                                5.   ความภาคภูมิใจและวิธีการรักษามรดกที่บรรพบุราได้สร้างสมไว้

                5.5  ครูแจกใบความรู้ให้กับนักเรียนทุกคนในกลุ่ม 
                5.6  นักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ภายในกลุ่มของตนเอง  และสรุปเป็นองค์ความรู้ของแต่ละกลุ่ม  ( ครูแจกกระดาษฟูลสแค๊ปและปากกาเคมี )
                5.7  ตัวแทนแต่ละกลุ่ม  ออกไปอภิปรายหน้าชั้น  เกี่ยวกับสิ่งที่กลุ่มของตนได้สรุปเป็นองค์ความรู้  
               
ขั้นสรุป
               
5.8  ครูเพิ่มเติมเนื้อหาให้สมบูรณ์  โดยสรุปเนื้อหาที่เรียนในชั่วโมงนั้น 
                5.9  ครูแจกใบงานให้นักเรียนทำเป็นการบ้าน  พร้อมทั้งกำหนดสถานที่และวันส่งให้ชัดเจน 
               
6.  วัสดุ   อุปกรณ์   สื่อ  /   แหล่งเรียนรู้
                6.1  หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา   และวัฒนธรรม   ประวัติศาสตร์ ม.1  ตามหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2544
                6.2  ใบความรู้ที่ครูทำขึ้น
                6.3  ห้องสมุด
                6.4  อินเตอร์เน็ต (
www.aksorn.com/Lib/S/Soc_04)
                6.5  ปากกาเคมี
                6.6  กระดาษฟูลสแค๊ป
                6.7  ฉลาก  5  ใบ  ( ที่ใช้เป็นหัวข้อในการศึกษางานกลุ่ม )

7.  การวัดผลประเมินผล
                7.1  สิ่งที่ต้องการวัด/วิธีวัด
                                7.1.1  ความรู้ความเข้าใจของการเทียบศักราชแบบต่าง ๆ  จากการทำแบบฝึกหัด
                                7.1.2 ทักษะกระบวนการทำงานกลุ่ม  จากสถานการณ์จริงที่นักเรียนแบ่งกลุ่มศึกษาใบงาน  จนกระทั่งได้เป็นองค์ความรู้ออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน
                                7.1.3  ความภาคภูมิใจ และรู้จักวิธีรักษามรดกที่บรรพบุรุษได้สร้างสมไว้  จากแบบฝึกหัดข้อที่  5 
                7.2  เครื่องมือ
                                7.2.1  แบบฝึกหัด
                                7.2.2  แบบสังเกตพฤติกรรม
                7.3  เกณฑ์การประเมินผล
                                7.3.1  แบบฝึกหัดมี  5  ข้อ  ซึ่งมีเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้ 
                                           ข้อ  1และ2  ข้อละ  5  คะแนน,  ข้อ  3   1  คะแนน,  ข้อ  4 และ5 
ข้อละ  2  คะแนน
                               
           ข้อ  1  และ  2  ตอบถูกได้  1  คะแนน  ตอบผิดได้  0                                            ข้อ  3  ตอบถูกได้  1  คะแนน  ตอบผิดได้  0
                                            ข้อ  4  ตอบถูกได้  2  คะแนน  ตอบผิดได้  1  คะแนน                                           
ข้อ  5  ขอเพียงให้ตอบตามความเข้าใจได้  2  คะแนน
                                                รวมทั้งหมด  15  คะแนน  ผ่านเกณฑ์อย่างน้อยร้อยละ  70  คือต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่า  10.5
                                7.3.2  พฤติกรรมผ่านเกณฑ์อย่างน้อยร้อยละ  70
                                           รวมคะแนนพฤติกรรม  20  คะแนน  คือต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่า  14  จึงจะผ่าน

8.  ข้อเสนอแนะ
                ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น (ซึ่งการเรียนการสอนครั้งนี้คือการทำงานกลุ่ม)     เป็นหัวใจสำคัญของวิชาสังคมศึกษา  นั่นคือ  การนำความรู้ที่ได้มาปฏิบัติจริง  วิชาสังคมศึกษาแตกต่างไปจากวิชาอื่น  เช่น  ภาษาไทย  คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์  ที่ว่าเมื่อเรียนไปแล้วครูจะสามารถวัดประเมินความเข้าใจได้ทันที  ทักษะในวิชาสังคมศึกษาการวัดผลประเมินผลต้องอาศัยเวลา  อาศัยการสังเกต  และมาตรฐานของสังคมในการตัดสิน  ครูไม่สามารถให้คะแนนอย่างชัดเจนในชั่วโมงเรียนได้

9.  ความคิดเห็นของผู้บริหาร
..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

                                                                                                ลงชื่อ..................................................................
                                                                                                                (...........................................................)
                                                                                                                                 ผู้บริหารสถานศึกษา

วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 10

1.  วิเคราะห์กรณีปราสาทเขาพระวิหาร

กรณีปราสาทเขาพระวิหาร เป็นความขัดแย้งระหว่างราชอาณาจักรกัมพูชากับราชอาณาจักรไทย ซึ่งเริ่มเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2501 ในการอ้างสิทธิเหนือบริเวณปราสาทเขาพระวิหาร ซึ่งตั้งอยู่ที่ชายแดนไทยด้านอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ และชายแดนกัมพูชาด้านจังหวัดพระวิหาร ปัญหาดังกล่าวเกิดจากการที่ทั้งไทยและกัมพูชา ถือแผนที่ปักปันเขตแดนตามแนวสันปันน้ำของเทือกเขาพนมดงรักคนละฉบับ ทำให้เกิดปัญหาพื้นที่ทับซ้อนของทั้งสองฝ่ายในบริเวณที่เป็นที่ตั้งของตัวปราสาท โดยทั้งฝ่ายกัมพูชาและฝ่ายไทยได้ยินยอมให้มีการพิจารณาปัญหาดังกล่าวขึ้นที่ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในปี พ.ศ. 2502
คดีนี้ศาลโลกได้ตัดสินให้ตัวปราสาทเขาพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2505 ท่ามกลางความไม่พอใจของฝ่ายไทย ซึ่งเห็นว่าศาลโลกตัดสินคดีนี้อย่างไม่ยุติธรรม เนื่องจากศาลโลกยึดติดอยู่บนแผนที่ฉบับเดียว โดยที่ศาลโลกมิได้มีการตรวจสอบสถานที่อย่างจริงจังตามข้อตกลงไทย-ฝรั่งเศส อย่างไรก็ตาม การตัดสินคดีครั้งนี้ไม่ได้แก้ปัญหาเรื่องอาณาเขตทับซ้อนระหว่างไทย-กัมพูชา ในบริเวณดังกล่าวให้หมดไป และยังคงเป็นปัญหาเรื้อรังต่อมาจนถึงปัจจุบัน
สถานการณ์ที่เขาพระวิหาร ถือว่าเป็นกรณีตัวอย่างที่มีความซับซ้อนและอ่อนไหว มีคนใช้ประเด็นนี้เพื่อหวังผลทางการเมืองภายใน และภายนอกประเทศ ที่แม้จะมีบางมุมที่ส่งผลดี แต่ทว่าก็สุ่มเสี่ยงต่อความพลาดพลั้งที่จะเกิดขึ้น ประการแรก คือ ชีวิตคนบริสุทธิ์ที่อาจได้รับอันตราย ประการที่สอง คือ การพลาดท่าที่จะทำให้มหาอำนาจเข้ามาแทรกแซงสถานการณ์บริเวณดังกล่าว ที่หากเป็นเช่นนั้นก็จะทำให้การเดินเกมของกัมพูชาในการยึดครองพื้นที่พิพาทบริเวณดังกล่าวง่ายขึ้นนั่นเอง
                จากกรณีดังกล่าวของเขาพระวิหาร จึงเห็นได้ว่าประเทศไทยยังมีพื้นที่ทับซ้อนกันแต่ว่าการตัดสินของศาลโลกทำให้เกิดการที่เรียกกันว่าเอาเปรียบกัน และไม่ค่อยยุติธรรมเนื่องมาจากพื้อนที่ส่วนนั้นจากการมองดูพื้นที่แบบภูมิศาสตร์เป็นพื้นที่ของไทยแต่จากการที่กัมพูชาอาจมีทางเอาชนะได้หลายรูปแบบสาลโลกจึงตัดสินให้กัมพูชาชนะคดี

2)  กรณีพื้นที่ชายแดน จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์  จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดสระแก้ว ตราด เกาะกรูด ทะเลในอ่าวไทย
เป็นพื้นที่ที่ยังพิพาทกันอยู่เป็นเขตแดนที่ทั้งสองฝ่ายอ้างว่าเป็นของตนเองซึงเป็นเหตุให้มีปัญหาทั้งเรื่องของการจดทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก และกรณีคนไทยถูกจับกุมตัว  ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้คนไทยรู้และตระหนักเรื่องของดินแดนขึ้นมาเป็นอย่างมาก เพื่อที่จะไม่ให้จังหวัดของประเทศเรากลายไปเป็นของคนอื่น  ดั้งนั้นเรื่องนี้รัฐบาลจึงต้องดูแลและรักษาดินแดนไว้ซึ่งดินแดนไว้ให้สมบูรณ์ครบถ้วน

3.  วิเคราะห์กรณี mou43
 
               ในกรณีดังกล่าวเป็นปัญหาในเรื่องของเขตแดนที่มีความซับซ้อนกันของไทยกับกัมพูชา โดยสืบเนื่องมาจากการที่คนไทยทั้ง7คนถูกจับกุม ในข้อหาลุกล้ำเข้าเมืองแต่ทางประเทศไทยก็มีความเชื่อาว่าพื้นที่ตรงส่วนนั้นเป็นพื้นที่ของประเทศไทยทำให้นำไปสู่ปัญหาการปักปันเขตแดน 
                ซึ่งในกรณีนี้มีความคิดเห็นว่าการที่กัมพูชาจับกุมคนไทยไปก็เป็นสิ่งที่สามารถทำได้เพราะคิดว่าพื้นที่ส่วนนั้นเป้นของตน  แต่เมื่อมีการออกมาทักท้วงในด้านของดินแดนทางกัมพูชาก็ควรที่จะปล่อยแล้วดำเนินคดีเรื่องของดินแดนก่อน เพื่อจะได้ไม่กระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับไทย

4.  วิเคราะห์กรณี กรณี คนไทย 7 คน ประกอบด้วย สส.พรรคประชาธิปัตย์  (นายพนิต)  ประชาชนหัวใจรักชาติ (นายวีระ สมความคิด นายแซมดิน  นายตายแน่  มุ่งมาจนและผู้ติดตามผู้หญิงอีก 2 ท่าน) ร่วมกับสส.ไปตรวจพื้นที่ที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ในการแบ่งเขตพื้นที่ชายแดน และถูกทหารกับพูชากับจับหรือลักพาตัวไปขึ้นศาลประเทศกัมพูชา
                จากการที่เกิดปัญหาในการจับกุมนั้นเป็นเรื่องที่รู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ทางกัมพูชาจะใช้อำนาจผิดพลาดไปเพราดินแดนในส่วนนั้นยังเป็นข้อพิพาทอยู่จึงไม่ควรทำเหมือนกับว่าเป็นของตนเอง  ควรที่จะดำเนินตัดสินเรื่องเขตที่ยังซ้อนทับกันก่อน  และเหตุการณ์นี้ยังสามารถเห็นได้ว่าเป็นกรณีที่อาจจะมีปัญหาด้านความสัมพันธ์ของประเทศ  เพราะทางกัมพูชาล่วงล้ำและบุกรุกเข้ามาเรื่อยๆซึ่งทำให้เห็นว่ารัฐบาลของไทยที่ยังอ่อนอยู่ทำให้ประเทศเพื่อนบ้านบุกรุกแต่เขากลับชนะแล้วยังได้ดินแดนไปด้วย
ดังนั้น  รัฐบาลไทยควรที่จะหาข้อมูลที่แข็งและเป็นประโยชน์เพื่อที่จะเอาดินแดนของตนเองกลับคืนมาและจะต้องช่วยคนไทยที่ถูกจับกุมไปกลับมาได้อย่างปลอดภัย มิฉะนั้นอีกไม่นานดินแดนประเทศไทยจะถูกรุกรานไปเรื่อยๆ