วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 14

วิธีการสอนโดยใช้เครื่องมือหมวก 6 ใบ กับโครงงานแตกต่างกันอย่างไร

                >  การสอนแบบหมวก 6 ใบนั้นมันจะคลอบคลุม พฤติกรรมทุกด้านที่สามารถนำไปปฎิบัติตามได้โดยมีรายละเอียดดังนี้
สรุปหมวกคิดสีขาว
                การคิดแบบหมวกสีขาวเป็นระเบียบวิธีและแนวทางในการเสนอข้อมูล  นักคิดต้องพยายามเป็นกลางให้มากและไม่ควรมีอคติ  สีขาวชี้ให้เห็นถึงความเป็นกลาง  ข้อมูลครอบคลุมได้ตั้งแต่ข้อเท็จจริงและตัวเลขที่ตรวจสอบได้  ไปจนถึงข้อมูลที่ไม่แน่นอน  เราจะใช้หมวกขาวตอนเริ่มต้นของกระบวนการคิด  เพื่อเป็นความคิดที่กำลังจะเกิดขึ้น  และเราก็สามารถใช้หมวกสีขาวในตอนท้ายของกระบวนการได้เหมือนกัน  เพื่อทำการประเมิน  เช่น  เสนอโครงการต่างๆของเราเหมาะสมกับข้อมูลที่มีอยู่หรือไม่  ส่วนที่สำคัญของหมวกสีขาวคือ  การระบุถึงข้อมูลที่จำเป็นและขาดหายไปหมวกขาวจะบอกถึงปัญหาที่ควรจะยกขึ้นมาถามและแสดงวิธีการเพื่อให้ได้มาเพื่อข้อมูลทีจำเป็นและมุ่งไปสู่การเสาะหาและตีแผ่ข้อมูล
 สรุปหมวกคิดสีแดง
                การใช้หมวกสีแดงจะทำให้มีโอกาสเปิดเผยความรู้สึก  อารมณ์  สัญชาตญาณหยั่งรู้ออกมาโดยไม่ต้องมีคำอธิบายหรือหาเหตุผลใด ๆ  สัญชาตญาณอาจจะอยู่บนพื้นฐานของประสบการณ์ที่ผ่านมา  เจตนารมณ์ของหมวกแดงคือ  การแสดงความรู้สึกอย่างที่เป็นอยู่ออกมา  ไม่ใช่การบีบบังคับให้ตัดสินใจ  อารมณ์ทำให้ความคิดยุ่งเหยิง   หมวกสีแดงเป็นวิธีที่มีประโยชน์ในการช่วยให้อารมณ์เหล่านั้นเป็นสิ่งที่สมเหตุสมผล  ยอมรับได้   สิ่งที่ยากที่สุดในการสวมหมวกสีแดงคือ  การฝึกความรู้สึกที่ยากจะหาเหตุผลให้กับอารมณ์ที่แสดงออกมา  ซึ่งการหาเหตุผลนั้นอาจถูกหรือผิดก็ได้
 สรุปหมวกคิดสีดำ
                หมวกคิดสีดำ  คือหมวกแห่งการระแวดระวังภัย  ในการพิจารณาข้อคิดเห็น  ข้อเสนอแนะหรือเรื่องอะไรก็ตาม  เมื่อถึงจุดหนึ่ง  เราก็ต้องนึกถึงความเสี่ยง  อันตราย  อุปสรรค  ข้อด้อยหรือปัญหาที่อาจจะเกิด  หมวกสีดำชี้ให้เห็นชี้ให้เห็นสิ่งที่เราควรใส่ใจและไตร่ตรองเพราะมันเป็นจุดอ่อนหรือเป็นอันตราย  เราอาจใช้หมวกสีดำเป็นส่วนหนึ่งของการประเมิน    เราควรเดินหน้าไปกับข้อเสนอนี้ไหม  หรืออาจใช้หมวกสีดำในขั้นตอนการระดมสมองและก่อร่างสร้างแนวคิด  มีจุดอ่อนอะไรบ้างที่เราควรหาทางป้องกันและแก้ไข  หมวกสีดำจะช่วยแจกแจงให้เราเห็นภาพความเสี่ยงและปัญหาที่อาจเกิดข้น  หมวกสีดำจะมองหาความสอดคล้อง  กับประสบการณ์ที่ผ่านมาหรือไม่  สอดคล้องกับนโยบายและวิธีการกับจริยธรรมค่านิยม  ทรัพยากร  และสอดคล้องกับข้อเท็จจริงและประสบการณ์ของผู้อื่นหรือไม่
สรุปหมวกคิดสีเหลือง
                การคิดแบบหมวกสีเหลืองเป็นการคิดในแง่ดีและในเชิงสร้างสรรค์  และเป็นการคิดประเมินค่าในทางบวก  รวมไปถึงความฝันและวิสัยทัศน์  การคิดแบบหมวกเหลืองเป็นการสำรวจหาคุณค่าและประโยชน์แล้วจึงพยามยามจะหาเหตุผลสนับสนุนคุณค่าและผลประโยชน์นั้นๆ   จากความคิดจากหมวกเหลือง  เราจะได้ข้อเสนอและข้อแนะนำที่เป็นรูปธรรม  การคิดแบบหมวกสีเหลืองเกี่ยวข้องกับการทำให้สิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้น    อาจเป็นการคาดการณ์และการมองหาโอกาส  และจะก่อให้เกิดวิสัยทัศน์  จินตนาการและความฝัน
สรุปหมวกคิดสีเขียว
                หมวกสีเขียวเป็นหมวกแห่งพลังงาน  หมวกแห่งความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  หมวกสีเขียวจะผลักดันความคิดใหม่ๆออกมาและยังคิดถึงทางเลือกใหม่หรือสิ่งใหม่ที่ทดแทนของเก่าได้   รวมถึงทางเลือกที่ชัดเจนและใหม่สดจริงๆ  เมื่อเราสวมหมวกเขียวเราหาวิธีปรับเปลี่ยนและปรับปรุงความคิดใหม่ที่เสนอมา  การค้นหาทางเลือกเป็นพื้นฐานของหมวกคิดสีเขียว  เราจะต้องไปให้ไกลกว่าความคิดเห็นที่รู้กันแล้วหรือเห็นได้ชัดเจนอยู่แล้ว  ความคิดอาจหยุดเพื่อคิดสร้างสรรค์เพื่อพิจารณาว่ามีทางเลือกอื่นๆอีกหรือไม่  โดยไม่ต้องมีเหตุผลว่าทำไมจึงต้องหยุด  เราใช้การเลื่อนไหวความคิดเข้ามาแทนที่การตัดสินพิจารณาความคิด   การคิดเคลื่อนไหวไปข้างหน้า  เพื่อไปให้ถึงความคิดใหม่  ความคิดเชิงยั่วยุใช้เพื่อกระตุกเราให้หลุดจากแบบแผนความคิดแบบเดิม  หรือการคิดนอกกรอบ
สรุปหมวกคิดสีฟ้า
                หมวกคิดสีฟ้าจะกำหนดประเด็นที่เราจะต้องคิด  กำหนดความสนใจ  อะไรคือปัญหาอะไรคือคำตอบ  หมวกสีฟ้าจะกำหนดงานที่จะกำหนดงานคิดที่จะต้องทำ  ตั้งแต้ต้นจนจบและมีหน้าที่สรุป   วิเคราะห์สถานการณ์  และลงมติต่าง ๆ  หมวกคิดสีฟ้าต้องติดตามตรวจสอบการคิดเพื่อให้แน่ใจว่าเป็นไปตามกติกาการคิด  หมวกคิดสีฟ้าจะหยุดยั้งการโต้แย้งถกเถียง  และยืนกรานตามแผนที่ความคิด  จะคอยดูให้กระบวนการคิดเป็นไปตามกฎเกณฑ์
โดยการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานนั้นเป็น
                การสอนแบบโครงงานเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียน  เรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งตามความสนใจของผู้เรียนอย่างลุ่มลึก  โดยผ่านกระบวนการหลักคือ กระบวนการแก้ปัญหา  ผู้เรียนจะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเพื่อค้นหาคำตอบด้วยตนเอง  จึงเป็นการเรียนรู้จากการได้มีประสบการณ์ตรงจากแหล่งเรียนรู้การให้นักเรียนผู้ทำโครงงานได้เสนอผลงาน เป็นการเผยแพร่ผลงาน กิจกรรมนี้จะส่งเสริมให้นักเรียนมีความกล้าแสดงออก เชื่อมั่นในผลงาน ตอบข้อซักถามของผู้สนใจได้  จากปีการศึกษา  2548-2550  ที่ผ่านมาเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของสาธารณะชนว่า กิจกรรมการสอนแบบโครงงานเป็นที่น่าภาคภูมิใจโดยเฉพาะนักเรียนได้รับเกียรติบัตรรางวัลในระดับการประกวดโครงงานต่าง ๆ มากมาย เช่น
-          โครงงานน้ำส้มควันไม้สมุนไพรกำจัดปลวก
-          โครงงานผ้าสวยด้วยสมุนไพร
-          โครงงานกังหัน พี วี ซี
-          โครงงานหอยเชอรี่เพิ่มประสิทธิภาพไก่ไข่  ฯลฯ
ซึ่งโครงงานเหล่านี้นักเรียนได้รับเกียรติบัตรจากการประกวดในระดับเครือข่าย  ระดับเขต  ระดับจังหวัด สร้างความภูมิใจให้นักเรียนและครูผู้เป็นที่ปรึกษา  นับว่าเป็นกิจกรรมที่ประสบผลสำเร็จที่เกิดจากผลผลิตของการจัดกิจกรรมการเรียนแบบโครงงานทั้งสิ้น
โดยสรุปแล้วไม่ว่าจะเป็นการจัดการเรียนแบบ หมวก 6 ใบ หรือแบบโครงงานล้วนก็มีข้อแตกต่างกันอยู่บ้างแต่ก็มีความสำคัญทั้ง 2 อย่าง โดยเราสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับตัวเราได้เมือเราออกไปฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น